เสาร์ 5 เป็นฤกษ์ดีเสริมแรงเสริมดวง สายมูต้องรู้

สายมูต้องรู้ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ตามปฏิทินไทย ถือว่าเป็นฤกษ์ที่เสริมแรงครู ใครจะปลุกเสกเครื่องรามในวันนี้เหมาะนัก แท้จริงแล้ว เสาร์ 5 ดีหรือไม่ดี แล้วเราควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ความเชื่อเรื่อง “วันเสาร์” และ เลข “๕”

ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ วันเสาร์เกิดจากพระศิวะเอาเสือที่เป็น พยัคฆราช สิบตัวมาป่นให้เป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีม่วง  เสร็จแล้วประพรมด้วยน้ำอมฤต ทำให้เกิดเทพเจ้า มีพระนามว่า “พระเสาร์เทวราช” เป็นเทพเจ้าสำหรับคนเกิดในวันเสาร์ ส่วนเลข “๕” ตามโหราศาสตร์ไทย คือดาวพฤหัส เป็นดาวแห่งสติปัญหา ครูบาอาจารย์ ความอุดมสมบูรณ์ ทางศาสนา เลข ๕ ถือเป็นเลขเกี่ยวพันกับเลขศักดิ์สิทธิ์

เสาร์ ๕ ตรงกับวันอะไร

ตามปฏิทินไทย ความหมายของเสาร์๕ มาจาก วันเสาร์ ข้างขึ้นหรือข้างแรม 5 ค่ำ เดือน 5 ไม่ใช่ตามปฏิทินสากล โอกาสที่จะมีวันเสาร์๕ ตามตำราว่าเป็นวันแข็ง วันแรง วันมงคล จึงค่อนข้างยากหนึ่งปีจะมีเสาร์ห้าตรงตามตำราที่ใช้ปลุกเสกวัตถุมงคลหรือทำพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ไม่กี่ครั้งในแต่ละปี

เสาร์ ๕ ข้างขึ้น ข้างแรม ต่างกันอย่างไร

 การประกอบพิธีในวันเสาร์ ๕ ข้างขึ้น (หรือเรียกว่า เสาร์ ๕ใหญ่) จะมีความสมบูรณ์ในการสร้างความเข้มขลังได้เต็มที่  ส่วนเสาร์ ๕ ที่เป็นวันข้างแรม (หรือที่เรียกว่า เสาร์ ๕ น้อย) ก็ถือเป็นวันดี แต่อาจจะดีน้อยลงนิดหน่อย คือถ้าวันข้างขึ้น คือ 100 คะแนน ข้างแรมก็คือ80 คะแนน

ความเชื่อโบราณ วัน“เสาร์ ๕”

วันเสาร์ 5 ตามตำราโบราณถือเป็นวันแรงที่พระเกจิมักใช้วันนี้ในการทำพิธีกรรม ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง เสกของ เสกคน คือเหล่าศิษย์ยานุศิษย์ เครื่องรางที่ปลุกเสกในวันนี้จะมีพุทธคุณด้านคงกระพัน และแคล้วคลาด วันเสาร์ ๕ เป็นวันที่เกิดขึ้นได้ยากมาก เห็นได้ว่าวัตถุมงคลที่เป็นฤกษ์เสาร์ 5 พระเกจิ 1 รูป อาจทำได้เพียง 1-2 ครั้งในชีวิต เพราะเป็นวันที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย เพราะกว่าฤกษ์เสาร์ 5 จะเวียนมาอีกครั้งต้องใช้เวลา 10-20 ปี แต่หากเห็นวัตถุมงคลที่อ้างว่า เสาร์ ๕ ออกมาบ่อย นั้นเป็นเพียงกาอิงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ แต่ไม่ใช่เดือน 5 ตามปฏิทินไทยเท่านั้น ถ้าจะให้เสาร์ ๕ สมบูรณ์แบบต้องดูฤกษ์และเวลาที่เหมาะที่สุด ฤกษ์สำคัญคือ ช่วงเวลาที่เป็น ราชาฤกษ์ โสภณฤกษ์ และ ลาภะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่เป็นมงคล และดีทุกอย่าง

อย่างไรก็ตาม เสาร์ ๕ เป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ ที่ยังคงได้รับการยอมรับและศรัทธาจากคนหมู่มาก พิธีกรรมใดๆก็ตามที่ทำด้วยจิตอันบริสุทธิ์ เมตตา และมุ่งสร้างความดี ย่อมดีทั้งสิ้น