คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงปวดหัว และปวดใจ เมื่อลูกมีพฤติกรรม “เรียกร้องความสนใจ” หรือ “เอาแต่ใจ” เพราะไม่รู้จะรับมือและแก้ไขพฤติกรรมแบบนี้อย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิครับมือกับพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจขอลูกๆมาฝาก
เทคนิครับมือเด็กเอาแต่ใจ
การที่ลูกๆต้องการความรักจากคุณพ่อคุณแม่มากเกินไปจนกลายเป็นจนกลายเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจหรือเอาแต่ใจ เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง คุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไรกันดี
1.หาสาเหตุ
พยายามหาว่าเหตุใดที่ทำให้ลูกเรียกร้องความสนใจ ไม่ว่าจะเรื่องเล็กเรื่องน้อยก็ตาม อาจเพราะคุณไม่มีเวลาให้เพราะมั่วยุ่งกับการทำงาน หรือใส่ใจกับน้องมากจนเกินไป หรือพฤติกรรมอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ทำแล้วลูกเรียกร้องความสนใจ เช่น ทุกครั้งที่เล่นโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ในฐานะพ่อแม่ไม่ควรมองข้ามสิ่งเหล่านี้ เมื่อลูกรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความสนใจมากพอ ทำให้เขาทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ความสนใจนั่นเอง ซึ่งก็ทำให้เด็กถูกมองว่าเป็นเด็กเอาแต่ใจ
2.อายุ
การเรียกร้องความสนใจ ร้องไห้งอแง อาละวาด อยากจะให้คุณพ่อคุณแม่จำไว้ว่าสำหรับเด็กเล็กหรือเด็กก่อนวัยเรียนพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจแบบนี้เป็นเรื่อง “ปกติ”
3.พูดคุย
เมื่อลูกมีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ผ่านไป หรือวางเฉยกับพฤติกรรมเหล่านี้ แต่ควรจะพูดคุยกับลูก ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมที่ทำ ไม่น่ารัก ไม่สมควรทำ
4.อย่าทะเลาะกับลูก
พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบไหนก็คือต้องการความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ จึงไม่ควรไปทะเลาะต่อล้อต่อเถียงกับลูก หรือโต้ตอบด้วยพฤติกรรมรุนแรงขึ้น อาจทำให้เรื่องเลวร้ายลงไปอีก ทางที่ดีที่สุดคือทำเป็น “เฉยๆ” ไม่สนใจ หรือหากอยากจะพูดควรพูดให้กระชับที่สุด การอยู่เฉยๆ ขณะลูกร้องไห้ไม่ใช่การทอดทิ้งลูก แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้การควบคุมตนเอง และยังเป็นโอกาสที่คุณพ่อคุณแม่จะได้สงบสติอารมณ์ของตัวเองด้วย
5.ตามใจลูกในเรื่องด้านบวก
ลองให้เวลากับลูกมากขึ้น พูดชมเชยลูกเวลาเขาทำอะไรดี เช่น ช่วยหยิบของ เก็บของเล่น รวมถึงเวลาที่เขาหยุดแสดงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจเร็วขึ้นกว่าที่เป็น การตามใจลูกในเรื่องด้านบวกเมื่อลูกร้องขอก็เป็นสิ่งที่ดี แต่หากเขาได้รับเมื่อไม่ได้ร้องขอ เขาก็จะรับรู้ได้ว่าพ่อแม่สนใจเขาอยู่แล้วเป็นปกติ โดยไม่ต้องทำตัวเอาแต่ใจ
การเรียกร้องความสนใจของลูกเป็นเพียงพฤติกรรมๆหนึ่งที่หากคุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจ รู้สาเหตุและจัดการอย่างถูกวิธี พฤติกรรมเหล่านี้ก็จะหายไปได้เอง